การโน้มน้าวใจ เป็น ศิลปะการพูด เทคนิคการพูดเพื่อให้ผู้อื่นให้รับฟัง เข้าใจ ยอมรับในมุมมองความคิดของเรา บางครั้งผู้ฟังอาจคล้อยตาม หรือยอมเปลี่ยนความคิดและเปลี่ยนการกระทำไปตามทิศทางที่ผู้พูดโน้มน้าวต้องการได้ การพูดโน้มน้าวใจเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนเพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ ภาษาที่ใช้ต้องชัดเจนและสร้างสรรค์ สอดแทรกอารมณ์ขันในเนื้อหาเพิ่มความน่าสนใจ พร้อมทั้งมีภาษากายที่ดีบ่งบอกความมั่นใจและการยกตัวอย่างเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มความน่าเชื่อถือ ถ้าอยากพูดเก่ง โน้มน้าวใจเพื่อนเก่ง ลองเรียนรู้กลวิธีนี้กันดู
ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการพูดโน้มน้าวผู้คน เพื่อให้มั่นใจในตัวผู้พูดและสิ่งที่สื่อสารออกไป ทั้งความน่าเชื่อถือ คำพูดที่ดูจริงใจและเป็นข้อเท็จจริง จะมีเทคนิคอะไรบ้าง ไปดูกันจ้า
สำหรับภาษาที่ใช้ขึ้นอยู่กับประเภทของผู้ฟังเป็นหลัก เช่น ภาษาทางการ ภาษากลาง ๆ ถ้อยคำที่สร้างบรรยากาศเป็นกันเองโดยใช้คำสุภาพให้เกียรติผู้ฟัง เลือกใช้คำพูดให้เหมาะสมน่าฟัง ใช้คำสร้างพลังบวก ระมัดระวังคำที่เป็นภาพลบ เช่น ใช้คำว่าไม่ค่อยมีฐานะแทนคำว่ายากจน ใช้คำว่า ไม่ควรทำ แทนคำว่าอย่าหรือห้ามทำ การพูดโน้มน้าวควรแสดงความปรารถนาดีต่อผู้ฟัง ไม่พูดประชดประชันหรือเหน็บแนม ไม่บังคับข่มขู่ ไม่พูดโจมตีผู้อื่น และต้องคำนึงถึงกาลเทศะเป็นสำคัญ
การพูดเพื่อโน้มน้าวใจคนเป็นทักษะการพูดที่ทุกคนควรฝึกฝนเป็นประจำ ฝึกควบคุมสติอารมณ์ทำให้ไม่ประหม่า ประเมินผลและปรับปรุงการพูดของตนเองอย่างสม่ำเสมอ คัดเลือกถ้อยคำที่มีจุดประสงค์ชัดเจน มีทัศนคติและเจตนาที่ดี แสดงความจริงใจต่อผู้ฟัง มีเหตุผลสนับสนุนให้ผู้ฟังรู้สึกคล้อยตาม เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและการกระทำตามอย่างที่ผู้พูดโน้มน้าวต้องการ
ในบางโอกาส หากน้อง ๆ ต้องพูดหน้าชั้นเรียนหรือต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก อีกสิ่งสำคัญคือการฝึกสำเนียงการพูด เสียงดังฟังชัดและคำควบกล้ำถูกต้องชัดเจน ลีลาการพูดน่าฟัง และต้องมีปฏิภาณไหวพริบดีและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วย
นอกเหนือจากการโน้มน้าวใจด้วยคำพูดแล้ว สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือภาษากายและโทนเสียงพูดที่มีพลัง แสดงออกถึงความมั่นใจ ลองฝึกปรับวิธีการพูดให้คล่องแคล่ว มีการเน้นคำหนักคำเบา พูดด้วยน้ำเสียงที่เป็นมิตร ใบหน้ายิ้มแย้ม ทำให้คำพูดไม่น่าเบื่อ การแสดงความมั่นใจส่งอิทธิพลกระตุ้นความรู้สึกของผู้ฟังให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวผู้พูด ทำให้ การพูดโน้มน้าวใจ ได้ผลดี ยิ่งฝึกฝนบ่อย ๆ ให้การพูดเป็นธรรมชาติ ถ้อยคำชัดเจนและตรงตามจุดประสงค์ ทำให้น่าเชื่อถือและโน้มน้าวใจเพื่อน ๆ หรือผู้ฟังให้คิดเห็นคล้อยตามและเต็มใจเปลี่ยนความคิดมาทำตามความต้องการของเราในที่สุด
1.การโฆษณาสินค้า เป็นกลวิธีการพูดโน้มน้าวผู้ฟังประเภทหนึ่งที่มีเป้าหมายจูงใจให้เกิดพฤติกรรมการซื้อ โดยเลือกถ้อยคำอย่างพิถีพิถันทำให้สินค้าน่าสนใจ หากซื้อหาไว้ใช้งานแล้วจะเป็นประโยชน์คุ้มค่า ถือเป็นวิธีการพูดโน้มน้าวที่ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่ง ทักษะ การพูดโน้มน้าวใจ ให้ผู้ซื้อเห็นความสำคัญของสินค้าหรือบริการจะกระตุ้นให้ปิดการขายง่ายขึ้น ลักษณะของการโน้มน้าวเพื่อโฆษณาสินค้า เช่น
2.โฆษณาชวนเชื่อ เป็น เทคนิคการพูด ที่โน้มน้าวใจผู้ฟังให้เปลี่ยนความเชื่อและการกระทำเกิดผลตอบรับตามที่ผู้พูดต้องการ กลวิธีการพูดถึงเน้นถึงผลลัพธ์เป็นหลักโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องและเหตุผล โดยรวมแล้วแบ่งการโฆษณาชวนเชื่อออกเป็น 2 รูปแบบ คือเป้าหมายเพื่อการค้าหรือทางการเมือง ตัวอย่างลักษณะของการโฆษณาชวนเชื่อ คือ
3. คำเชิญชวน เป็นการเสนอแนะให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยโน้มน้าวให้เห็นประโยชน์ของส่วนรวม ไม่เพียงใช้ ศิลปะการพูด เท่านั้น แต่ยังมีวิธีการอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแจกแผ่นปลิว การปิดประกาศ หรือการเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ เพิ่มความน่าสนใจและเสริมความน่าเชื่อถือ เช่น เชิญชวนให้เลิกสูบบุหรี่, เชิญชวนทำบุญปล่อยโคและกระบือ ลักษณะของการพูดประเภทนี้ เช่น
น้องคนไหนสนใจ ก็ลองนำเทคนิคไปใช้ดู เพื่อฝึกฝนศิลปะการพูดโน้มน้าวใจไปด้วย ไม่แน่ว่า ทักษะนี้อาจจะจำเป็นและช่วยให้น้อง ๆ ประสบความสำเร็จอย่างที่หวังไว้ในหลายๆ ด้านก็ได้นะ
ที่มาข้อมูล